“มหาวิทยาลัยบูรพา” ร่วมกับ “กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น” เสวนา“เกษตรอินทรีย์ เกษตรไทย ปลอดภัยทุกคน”



             มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ  กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น  จัดแถลงข่าว “โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน” พร้อมเสวนาหัวข้อ “เกษตรอินทรีย์ เกษตรไทย ปลอดภัยทุกคน” เพื่อพัฒนาอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน  โดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร  คุณอำนวย สกุลวัฒนะ ประธานกลุ่มออแกนิคแลนด์, พอ.วีรพันธ์ สมัครการ รองเจ้ากรมการสัตว์ทหารบก,  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ เรืองประเทืองสุข รองอธิการบดี ม.บูรพา, ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ พราหมณ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ  และ อ.อภิรักษ์ ชัยปัญหา ภาควิชาภาษาไทย ม.บูรพา  พิธีเปิดโครงการฯ จัดขึ้น ณ ห้องเทาทอง 2  ม.บูรพา)

                ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ พราหมณ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ  ม.บูรพา ให้รายละเอียดว่า   “สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements – IFOAM) ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์กรด้านเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศที่มีสมาชิกกว้างขวางที่สุดในโลก ได้ให้ความหมายของคำว่า “เกษตรอินทรีย์ หรือ “Organic Agriculture” คือ ระบบการผลิตที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสุขภาพดิน ระบบนิเวศ และผู้คน เกษตรอินทรีย์พึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ และวงจรธรรมชาติที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ แทนที่จะใช้ปัจจัยการผลิตที่มีผลกระทบทางลบ เกษตรอินทรีย์ผสมผสานองค์ความรู้พื้นบ้าน นวัตกรรม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่เป็นธรรม และคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกผู้คนและสิ่งมีชีวิตต่างๆที่เกี่ยวข้อง”  ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบ โดยการให้ความรู้กับประชาชน  พร้อมทั้งให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน เข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันในระยะแรก ต่อมาเมื่อรัฐบาลเห็นว่าประชาชนเริ่มยอมรับการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ที่มีความปลอดภัยกับผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงได้มีการผลักดันเกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติในปี 2548 และสนับสนุนงบประมาณให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องในปี 2549 ซึ่งมีการดำเนินการเรื่อยมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบัน”

               ด้าน ดร.แบงค์-พีรพัฒน์ มั่งคั่ง หัวหน้าฝ่ายวิจัยพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม  ม.บูรพา สำหรับวัตถุประสงค์ของ “โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน”    คือ  ๑. เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ใน ๔ ประเด็นหลัก คือ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  การเพิ่มรายได้เกษตรกร การจัดการในเรื่ององค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตของเกษตรกร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน  ๒. เพื่อสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งทางด้านทฤษฎี และการปฏิบัติเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำไปกำหนดเป็นนโยบายท้องถิ่น หรือนำไปสู่การจัดทำแหล่งเรียนรู้การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย ตลอดทั้งการจัดหาแหล่งวัสดุการเกษตรคุณภาพที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ๓. เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตภาคเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ ซึ่งถือเป็นการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติและประหยัดค่าใช้จ่าย ๔. เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มผู้นำท้องถิ่นที่สนใจการเกษตรในรูปแบบของภาคีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ขึ้น  เพื่อสร้างความเข้มแข็งและอำนาจต่อรองในระบบกลไกแบบตลาด (จำหน่ายตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง)   สำหรับกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากโครงการฯ นี้ คือ   ผู้บริหารท้องถิ่น อันได้แก่  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ปรึกษานายกฯ เลขานุการนายกฯ สมาชิกสภาฯ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการ เป็นต้น โดยสามารถเข้าร่วม โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ในครั้งต่อไป  ทางผู้จัดคาดหวังเป้าหมาย 10 รุ่นๆละ 100 ท่าน เริ่มรุ่นแรก 23-26 มิ.ย. 2558 ณ สถานที่ในส่วนกลาง กทม. และศูนย์การเรียนรู้ ฝึกอบรม ออร์แกนิคแลนด์”

             คุณอำนวย สกุลวัฒนะ   ประธานกลุ่มออแกนิคแลนด์ กล่าวเสริมว่า  “ที่มาของทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ โดยปกติการปลูกพืช โดยเฉพาะ พืชอาหาร คือ กินใช้ แปรรูป แล้วก็ส่งออก เกษตรปลูกอะไรมา ทาง ไปคือแบบนี้ และถัดจากนั้น ในปีหน้า 31 ธ.ค. 58  เราเข้าเออีซี คนทั้งประเทศ เกษตรกรถูกบังคับแข่ง ทั้งที่ไม่อยากแข่งขัน แต่วันนี้บ้านเราเป็นอย่างไร พื้นที่บ้านเราแพงกว่า แรงงานเราสามร้อย เขายังไม่ถึงร้อย แต่เราผลิตสินค้าเหมือนกัน ต้นทุนสู้เขาไม่ได้ จึงต้องเป็นเกษตรอินทรีย์ เปลี่ยนฐานการผลิตไปหากลุ่มลูกค้าใหม่     ความแตกต่าง ข้อดี  ถ้าบอกว่าไปทำออร์แกนิค ต้องมองอย่างคนที่เข้าใจความเป็นออร์แกนิค รักมัน มองในมุมไหน คนทาน หรือ คนทำ หรือจะมองในมุมตลาด ผมพูดย้อนกลับ มองในมุมตลาด อเมริกา ยุโรป มีความต้องการสินค้าออร์แกนิคเพิ่มขึ้นทุกปี และเมื่อเทียบกับราคาปกติคือสี่ถึงห้าเท่า ถ้ารัฐมองอย่างเข้าใจ แล้วชิฟเกษตรกรส่วนหนึ่ง เราก็จะมีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งที่มีรายได้ อยู่อย่างสบายๆ เหมือนในเกษตรกรในประเทศใหญ่ๆ ของโลก  ยกตังอย่างสินค้าเกษตรอินทรีย์ ข้าวหนึ่งเกวียน สีเป็นข้าวสารหกร้อยกิโล ขายได้เจ็ดถึงแปดพันบาท แต่ถ้าเป็นเกษตรอินทรีย์ หรือไรซ์เบอร์รี่ เกวียนได้เกือบแสน แถมสีแล้วยังมีรำไปทำน้ำมันได้เพิ่มด้วย  เกษตรกร ต้องเสียอะไรเพิ่มใหม่ เปลี่ยนวิถีชีวิตอะไรหรือไม่

          สองคำ ต้องเข้าใจและยอมรับ ตอนนี้มันคือNeed ของตลาดโลก โลกพูดเรื่องสุขภาพ คือเรื่องออร์แกนิค ขณะที่ประเทศไทย นำเข้าวัตถุดิบที่เป็นพิษ มากที่สุดอันดับ 2 ของโลก สอดคล้องกับองค์กรอนามัยโลก ที่ระบุว่าเราเป็นอันดับ 5 ที่มีผู้ป่วยมะเร็งสูงที่สุด ฉะนั้นทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน ภาคใหญ่ต้องสนับสนุน ให้ทำเยอะๆ ออร์แกนิค มีที่ยืนแน่นอน   คนไทยตามเก่ง แต่ไม่ชอบคิด ถ้านำให้ดี คนตามเยอะ  หลักการดำเนินธุรกิจ การค้าที่ผมทำ 3 อย่าง ต้องทำกำไร ต้องเป็นประโยชน์กับทุกคน และต้องเป็นประโยชน์กับโลกใบนี้  เวลาทำธุรกิจจึงให้ความสำคัญและเริ่มต้นจากต้นน้ำ เช่น เปิดโรงงานเกษตรอินทรีย์ อบรม ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง  ใครจะมาดูก็ได้ แม้แต่ผู้ประกอบการด้วยกัน เพราะอยากทำให้ต้นน้ำดี    กลางน้ำก็มีมาตรฐาน และช่วยกันทำปลายน้ำ อย่างทำตลาดทั้งในและต่างประเทศ มากกว่านั้นคือกระบวนการต่อยอดอื่นๆ”