รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) นายอมร หาญคำ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เทเช่น เทคโนโลยีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และ มร. เอริค หวัง ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาค บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด ร่วมกันลงนามในสัญญาและบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน พร้อมตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในภูมิภาคเอเชีย ณ งานวิศวกรรม’59 หรือ Engineering Expo 2016 ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติ (BITEC) กรุงเทพฯ
ความร่วมมือของ 4 พันธมิตรในครั้งนี้ ดำเนินการโดยมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน ที่สอดรับกับทิศทางพลังงานและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชีย
ทั้งนี้ การลงนามความร่วมมือและพิธีลงนามในสัญญาในครั้งนี้ ได้ระบุความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ออกเป็น 3 ด้านหลัก ผ่านการลงนามระหว่าง 4 องค์กรชั้นนำ ได้แก่
รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวเกี่ยวกับการลงนามความร่วมมือวิจัยและพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ในครั้งนี้ว่า “มหาวิทยาลัยได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการค้นคว้าวิจัย การอนุรักษ์และพัฒนาพลังงานทดแทนในทุกมิติ และด้วยความพร้อมด้านบุคลากร ผนวกกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสถาบันฯ เราเชื่อมั่นว่า คนไทยมีศักยภาพที่เพียงพอในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานสู่ระดับโลก และการลงนามความร่วมมือกับภาคเอกชนที่เป็นผู้นำด้านพลังงานในครั้งนี้จะเป็นการเปิดมิติใหม่สู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางของเอเชียหรือระดับโลกได้อย่างชัดเจน”
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้เริ่มต้นติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนอาคาร ขนาด 4.3 เมกะวัตต์ พร้อมขยายเต็มพื้นที่ในทุกอาคารของมหาวิทยาลัยอีกกว่า 10 เมกะวัตต์ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน อีกทั้งยังเป็นต้นแบบในการใช้พลังงานที่ยั่งยืน และเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับนักศึกษาและสาธารณะอีกด้วย ในฐานะสถาบันการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเชื่อมั่นว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยยกระดับมาตรฐานบุคลากรด้านพลังงานของประเทศผ่านการช่วยเหลือด้านต่างๆ จากภาคเอกชน และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานแสงอาทิตย์แห่งเอเชีย
นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านธุรกิจพลังงานแห่งเอเชียที่ดำเนินธุรกิจด้านการจัดหาแหล่งพลังงาน และการผลิตกระแสไฟฟ้ามากว่า 30 ปี กล่าวว่า “บ้านปูฯ มีความยินดีกับอีกก้าวสำคัญของบริษัทฯ ในวันนี้ที่ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งจากสถาบันการศึกษาชั้นนำ และภาคเอกชน ความร่วมมือดังกล่าวนี้เป็นไปตามกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน และจะช่วยสนับสนุนให้บ้านปูฯ สามารถเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าให้ได้ 4,300 เมกะวัตต์เทียบเท่า ภายในปี 2568 โดยจะประกอบไปด้วยพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 อีกทั้งยังเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นธุรกิจส่วนปลายน้ำที่จะช่วยสร้างมูลค่าในห่วงโซ่อุปทาน และยังเป็นการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ”
นายอมร หาญคำ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เทเช่น เทคโนโลยีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้นำด้านการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะที่เรียกว่า Smart Energy Management Systems (SEMS) กล่าวว่า “เทเช่นมุ่งลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพและประสิทธิภาพสูงสู่ระดับโลก พร้อมตั้งฐานการผลิตในไทย โดยตั้งโรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ขนาด 300 เมกกะวัตต์ที่จังหวัดชลบุรี เพื่อรองรับการเติบโตของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีแนวโน้มสูงมากทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เทเช่นและพันธมิตรจึงได้ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านพลังงานหมุนเวียนแบบครบวงจร พร้อมเป็นศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรด้านพลังงาน (Standard of Practice) สู่ความเป็นมาตรฐาน รวมทั้งตั้งเป้าหมายให้เป็นศูนย์ทดสอบคุณภาพและกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์พลังงาน เพื่อให้บริการแก่ภาคธุรกิจทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย”
มร. เอริค หวัง ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาค บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า “หัวเว่ยมีเทคโนโลยีด้านเครือข่ายและระบบโทรคมนาคมระดับโลก และยังเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์และติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบโทรศัพท์รายใหญ่ อันดับ 1 ของโลก ซึ่งที่ผ่านมาเราได้ทุ่มทุนด้านงานวิจัยด้านพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผสานระบบเครือข่ายเพื่อจัดการพลังงานที่มีความถูกต้อง แม่นยำและครอบคลุมได้ทั่วโลก ที่เรียกว่า “Huawei FusionSolar” การลงนามความร่วมมือวิจัยและพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ในครั้งนี้เป็นการต่อยอดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี