นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค (One Province One Agro-Industrial Product) OPOAI หรือโอปอย ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการแล้ว 1,336 ราย ในการเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการครั้งนี้ เพื่อเป็นการติดตามผลการดำเนินงานจากการเข้าร่วมโครงการฯ สำหรับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ปีปัจจุบัน และติดตามสถานประกอบการที่เคยเข้าร่วมโครงการฯ ในการนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอดอย่างไรบ้าง พร้อมกันนี้ ยังเป็นให้กำลังใจสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ในการลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ OPOAI ภาคใต้ ได้เข้าเยี่ยมชม บริษัท เมกก้าวู้ด จำกัด ตั้งอยู่ที่ ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง และ บริษัท สยามชิกเค้น โปรดักท์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ ตำบลเขาต่อ อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ โดยการลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมชมสถานประกอบการในโครงการโอปอยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มสมรรถนะ และขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยมีความสามารถในการบริหารเชิงกลยุทธ์ในตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เพิ่มช่องทางรวมถึงการกำหนดทิศทางทางการตลาด รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันในอนาคต พร้อมก้าวไปสู่อุตสาหกรรม แปรรูปเกษตรอย่างครบวงจร ตามนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้มีการเติบโตที่ยั่งยืน
สำหรับแนวทางการดำเนินโครงการโอปอยจะมีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ปรึกษาแนะนำสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ โดยทีมที่ปรึกษาจะเข้าไปศึกษาข้อมูลของสถานประกอบการจากคณะผู้บริหารของสถานประกอบการนั้น ๆ โดยเฉพาะเพื่อดูว่าสมควรเข้าพัฒนาในแผนงานไหนมากที่สุด และเมื่อได้ข้อสรุป ทางทีมที่ปรึกษาจะมีแผนการดำเนินงานให้ปฏิบัติจริง และติดตามผลพร้อมทั้งให้คำปรึกษาเป็นระยะ ๆ
ในการลงพื้นที่เข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการทั้ง 2 แห่งได้มองเห็นถึงผลสำเร็จของทั้ง 2 กิจการ ได้แก่ บริษัท เมกก้าวู้ด จำกัด ดำเนินธุรกิจแปรรูปไม้ยางพารา เข้าร่วมโครงการในปี 2558 จำนวน 2 แผนงานคือแผนงานที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต ซึ่งภายหลังทีมที่ปรึกษาได้พูดคุยสอบถามปัญหาและให้คำแนะนำ ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มกิจกรรมของการพัฒนาเพื่อให้ครอบคลุมการเพิ่มประสิทธิภาพและลดอัตราของเสียที่เน้นกระบวนการในการเลื่อย ซึ่งสามารถแก้ปัญหาจากการดำเนินการได้มาก คือสามารถแก้ไขปัญหากำลังการผลิตในการเลื่อยโต๊ะต่ำกว่ามาตรฐาน โดยการสร้างระบบการวางแผนการผลิต และกำหนดตารางเวลาการตรวจเช็คโต๊ะเลื่อย จัดให้มีหน่วยบริการในการเปลี่ยนใบเลี่อยขึ้นมา ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาไปได้ดี ส่วนปัญหาไม้ท่อนที่รับเข้ามา ยาวเกินมาตรฐาน ผู้ประกอบการแก้ไขโดยเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจรับไม้ท่อนตามที่ได้กำหนดมาตรฐาน 113-115 ซม. โดย ให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ โดยในแผนงานที่ 1 สามารถลดต้นทุนการผลิต คิดเป็นมูลค่า 24,689,979.28 บาท/ปี
สำหรับแผนงานที่ 4 ด้านการลดต้นทุนการพลังงาน โดยผู้ประกอบการมุ่งเน้นไปที่ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเนื่องจาก ค่าไฟฟ้าในกระบวนการผลิตคิดเป็น 70% ของการใช้ไฟฟ้ารวม ส่วนงานที่ใช้ไฟฟ้ามากที่สุดคือโต๊ะเลื่อยไม้ เตาอบ และบอยเลอร์ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาไปได้ด้วยดี โดยทีมที่ปรึกษาให้คำแนะนำให้เปิดเครื่องเลื่อยไม้จากที่มีอยู่ 21 ชุด 42 โต๊ะเลื่อย โดยกำหนดเวลาในการเปิดเครื่องจากเดิมที่เปิดใช้งานพร้อมกัน ปรับเป็นเปิดเดินเครื่องครั้งละ 5 โต๊ะเลื่อย จนครบทุกโต๊ะห่างกันชุดละ 5 นาที เพื่อบริหารจัดการค่า Peak ไฟฟ้า ส่วนของโรงงานยังมีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความเข้มของแสงลง 50% ทำให้ลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ ในส่วนของโฟลคลิฟท์ ได้มีการกำหนดแนวทางการขับขี่เพื่อลดการใช้นำมันเชื่อเพลิง และสุดท้ายได้มีการอุดรอยรั่วของบอยเลอร์ ทำให้สามารถลดแรงดันไอน้ำที่จ่ายเข้าเตาอบได้ โดยในแผนงานที่ 4 สามารถลดต้นทุนพลังงาน คิดเป็นมูลค่า 1,464,177.60 บาท/ปี
รวมทั้งยังได้เข้าเยี่ยมบริษัท สยามชิกเค้น โปรดักท์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ เข้าร่วมโครงการในปี 2559 ดำเนินธุรกิจประเภทแปรรูปไก่สด เนื้อไก่สด และเนื้อไก่แช่แข็ง โดยเข้าร่วมโครงการโอปอยในปี 2559 ใน 2 แผนงาน ได้แก่ แผนงานที่ 1 การบริหารจัดการ โลจิสติกส์ ซึ่งจากการที่ทีมที่ปรึกษาได้ลงพื้นที่และพูดคุยได้พบประเด็นปัญหาระบบการจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งพบว่าขาดการประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการจัดการคลังสินค้าในส่วนไก่แช่แข็ง และไม่มีการระบุรหัสพื้นที่การจัดเก็บ อาศัยเพียงการจดจำของผู้ปฏิบัติงาน ทำให้มีความยากในการขนหา รวมถึงขาดป้ายระบุประเภทสินค้า นอกจากนี้ยังขาดการประยุกต์เทคนิคการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า ซึ่งทีมที่ปรึกษาได้ให้คำแนะนำในการสร้างระบบการจัดสินค้าคงคลัง ระบบการจัดการคลังสินค้า เพื่อแก้ไขปัญหาการค้นหาสินค้าและจัดเรียงสินค้าภายในคลังสินค้า โดยในแผนงานที่ 1 สามารถลดต้นทุนการผลิต คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 711,360.- บาท/ปี
สำหรับแผนงานที่2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พบประเด็นการะบวนการคัดขนาดไก่ตัว พบว่าอัตราการผลิตไม่สมดุลร่วมถึงขึ้นตอนการชำแหละไก่ ที่ขาดความสมดุลการผลิตของจำนวนพนักงานที่ไม่เหมาะสม และขาดการบำรุงรักษาเครื่องจักร เชิงป้องกันและขาดการบันทึกประวัติ สถิติ ซึ่งทีมที่ปรึกษาได้หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลกระบวนการทำงาน เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขในการลดความสูญเสียและจัดทำบันทึกประวัติ ข้อมูลอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับเครื่องจักร โดยในแผนงานที่ 2 สามารถลดต้นทุนการผลิต คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 187,200.- บาท/ปี
รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้ายว่า โดยปัจจุบันทั้ง 2 ผู้ประกอบการมีผลการดำเนินงานที่เข้มแข็ง สามารถยกระดับธุรกิจของตัวเองให้มีศักยภาพทั้งเรื่องของการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การเพิ่มประสิทธิภาพ และการลดต้นทุนพลังงานอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
ด้านนายภรภัทร โรจนมงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมกก้าวู้ด จำกัด ผู้ผลิตไม้ยางพาราแปรรูปอบแห้ง กล่าวว่า “จากการที่บริษัท เมกก้าวู้ด จำกัด ได้เข้าร่วมโครงการ OPOAI ของกระทรวงอุตสาหกรรม ทำให้ทางบริษัทฯ ได้เห็นข้อควรปรับปรุง เพื่อพัฒนาในด้านการลดต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการทำงานร่วมกันเช่นนี้ ทำให้บริษัทฯ มีมุมมองใหม่ต่องานประจำ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับ คือ 1) การลดต้นทุนด้านพลังงาน 2) เพิ่มผลผลิตต่อคนจากการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน บางขั้นตอน 3) ลดเวลาการทำงานลง ทำให้ต้นทุนสินค้าต่อหน่วยลดลงตามไปด้วย
ในปี 2559 ทางบริษัทฯ ได้ต่อยอดจากโครงการในด้านการลดใช้พลังงาน โดยการปรับปรุงเตาอบไม้ที่ใช้อยู่ ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานความร้อนและพลังงานไฟฟ้า โดยที่คุณภาพของสินค้ายังคงเดิม จากการเข้าร่วมโครงการ OPOAI ทำให้เกิดการกระตุ้นกระบวนการคิดและตัดสินใจในการทำงาน เพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ทางบริษัทฯ ขอขอบคุณทางอุตสาหกรรมจังหวัดตรังและทีมอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการที่ได้เข้ามาพัฒนาการทำงานและบุคลากรของบริษัท”
ด้านนายสรวีร์ ลีลากานต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามชิกเค้น โปรดักท์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจแปรรูปไก่สด กล่าวว่า “บริษัทได้เข้าร่วมโครงการโอปอยในปี 2559 จำนวน 2 แผนงานได้แก่แผนงานที่ 1 การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ และแผนงานที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการโดยตรงคือ การได้รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโรงงานที่เราคาดไม่ถึงและไม่รู้มาก่อนว่าสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนั้นมีวิธีอื่นที่สามารถทำให้เราประหยัดต้นทุนและเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรได้ สิ่งที่ตามมาที่เห็นได้ชัดเจนคือ การที่เราได้พัฒนาศักยภาพของพนักงานเรา ทั้งระดับพนักงาน หัวหน้างาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่บริษัทฯ ได้รับไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงานที่รวดเร็ว แม่นยำมากขึ้น สามารถประหยัดเวลาในการทำงานได้เป็นอย่างดี