สทน.รับรางวัลองค์กรที่ให้การสนับสนุน ความร่วมมือระดับภูมิภาคสำหรับการวิจัย พัฒนา และการฝึกอบรมในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก



เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 (เวลาในประเทศไทย) รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีของความตกลง Regional Cooperative Agreement (RCA) ซึ่งเป็นความตกลงความร่วมมือในการดำเนินโครงการด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จำนวน 22 ประเทศ ในด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ การเกษตร โภชนาการ และสิ่งแวดล้อม โดยการประชุมฯ จัดขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองการครบรอบ 50 ปี ความตกลง RCA ซึ่งมีการคัดเลือกและมอบรางวัลให้กับหน่วยงานในประเทศสมาชิกที่มีส่วนร่วมช่วยเหลือภูมิภาคมาอย่างต่อเนื่อง และในโอกาสนี้ รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผสทน.เป็นตัวแทนของ สทน. RCA Award ในสาขา RCA Regional Cooperation Award เนื่องจาก สทน. ได้ร่วมกับประเทศสมาชิก RCA ดำเนินการโครงการความร่วมมือมาอย่างยาวนาน และมีส่วนร่วมให้การช่วยเหลือภูมิภาคทางด้านวิชาการ ผ่านห้องปฏิบัติการของ สทน. ซึ่งถือเป็น Regional Resource Unit (RRU)

ในโอกาสนี้ รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ได้กล่าวขอบคุณ RCA ที่มอบรางวัลให้กับ สทน. และยินดีให้ความร่วมมือ RCA เพื่อพัฒนากิจกรรมด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง พิธีมอบรางวัลนี้ได้จัดขึ้นในช่วงการประชุมใหญ่สมัยสามัญครั้งที่ 66 ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยมีท่านมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวียนนา ร่วมแสดงความยินดี

ที่ผ่านมา สทน.มีโครงการและห้องปฏิบัติการที่ร่วมกิจกรรมสำคัญกับ RCA ดังนี้ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการสำหรับการทดสอบโดยใช้รังสีในอุตสาหกรรม ซึ่ง สทน. สามารถให้การรับรองในระดับ RT-1F and RT-2F ตามมาตรฐาน ISO9712 ตลอดจนความร่วมมือกับ IAEA

ความร่วมมือกับ IAEA และได้รับการรับรองห้องปฏิบัติการด้านอุทกวิทยาไอโซโทป (Isotope Hydrology) ให้เป็น IAEA Collaborating Centre in the area of Water Resources Assessment and Management ซึ่งห้องปฏิบัติการดังกล่าวดำเนินการวิเคราะห์ไอโซโทปเสถียรในน้ำ เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

การสนับสนุนเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณธาตุในสารตัวอย่าง (elemental analysis) นอกจากนี้ สทน.มีส่วนร่วมกับการดำเนินงานในภูมิภาค โดยการรับเป็นศูนย์ฝึกอบรมให้กับนักวิจัยจากประเทศในภูมิภาค เข้ามาเรียนรู้ ณ ศูนย์ฉายรังสีคลองห้าของ สทน.