วช. ปิดงาน “นักประดิษฐ์รุ่นใหม่” สายอาชีวศึกษา เตรียมพร้อมขับเคลื่อนประเทศด้วยสิ่งประดิษฐ์-นวัตกรรม Smart Invention & innovation



วันนี้ (14 มี.ค.) ที่โรงแรมดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) จัดกิจกรรมการบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & innovation (ภาคเหนือ) ระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2564

โดยการบ่มเพาะความรู้และสมรรถนะ ในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์สู่การเป็นนวัตกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์ 

สำหรับการจัดกิจกรรมการบ่มเพาะประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติรายกลุ่มเรื่อง การนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีความโดดเด่น การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากตัวอย่างผลงานที่ได้รับรางวัลเวทีระดับชาติและระดับนานาชาติ การจัดกิจกรรมครั้งนี้คาดหมายว่าจะเป็นประโยชน์แก่อาจารย์และบุคลากรผู้รับผิดชอบในการพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของสายอาชีวศึกษา เพราะความรู้ต่างๆ ที่จะร่วมกันเรียนรู้จากการบ่มเพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิ  จะเป็นการพัฒนาทักษะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมให้สามารถร่วมกันพัฒนางานประดิษฐ์คิดค้นที่รองรับความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศในอนาคตได้อย่างเต็มภาคภูมิต่อไป

โดย ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้กล่าวปิดและมอบเกียรติบัตรผลงานติดดาว แก่นักประดิษฐ์รุ่นใหม่ พร้อมกับผู้ทรงคุณวุฒิได้ร่วมมอบเกียรติบัตรแก่การบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & innovation (ภาคเหนือ)
 
ดร. วิภารัตน์ กล่าวว่า วิทยากร อาจารย์ และนักศึกษาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดกิจกรรมการ บ่มเพาะเพื่อเพิมศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation ระหว่างวันที่ 12 - 14 มีนาคม 2564
โดยการจัด กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจและมีสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมจำนวน 17 สถาบัน

ซึ่งคาดหมายว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรของสายอาชีวศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรของสายอาชีวศึกษาทั้งคณาจารย์และนักศึกษา เพราะความรู้ต่างๆ ที่ร่วมกันเรียนรู้จากการบ่มเพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านในที่นี้ตลอด 3 วันที่ผ่านมา จะเป็นการพัฒนาทักษะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมให้สามารถร่วมกันพัฒนางานประดิษฐ์คิดค้นที่รองรับความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศในอนาคตได้อย่างเต็มภาคภูมิ

   สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีความพร้อมและยินดีที่จะให้การสนับสนุนทุกท่านในการสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์และแรงบันดาลใจที่จะนำพลังของอาชีวศึกษามาเพิ่มประสิทธิภาพของงานสิ่งประดิษฐ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป

“ในนามของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ขอขอบคุณ คณะทำงานฯ ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ และวิทยากรที่กรุณาสละเวลามาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่ดี ต่อการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ใน และที่สำคัญที่สุด คือ อาจารย์และนักเรียน นักศึกษาสายอาชีวศึกษาที่มีความอนาคต มุ่งมั่นในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ซึ่งหากไม่มีพวกท่านกิจกรรมเหล่านี้คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ และขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่าน” ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวทิ้งท้าย