เกษตรสมัยใหม่1ใน5 นวัตกรรมหลัก สทวช.ดันงานวิจัยเพื่อความยั่งยืน



นายณรงค์  ศิริเลิศวรกุล  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า เพื่อให้เกิดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ พร้อมนำทรัพยากรต่างๆ มาประยุกต์ให้เกิดเทคโนโลยี หรือนวัตกรรม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ตลอดจนอาศัยการเชื่อมโยงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปกับระบบการศึกษา

สร้างก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมเพื่อขยายความร่วมมือกับองค์กรวิจัยชั้นนำในต่างประเทศ เช่น Jülich Research Centre สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี Chinese Academy of Science สาธารณรัฐประชาชนจีน และ Tokyo Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งสิ้น 53 หัวข้อ 2. นิทรรศการแสดงผลงานและพันธมิตร จัดแสดงผลงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และโครงการตามพระราชดำริฯ  ผลงานวิจัยตามประเด็นวิจัยมุ่งเน้น และผลงานวิจัยที่พร้อมถ่ายทอด สื่อสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ นิทรรศการความรู้เพื่อเกษตรและชุมชน

   5 ประเภทเพื่อความยั่งยืน

1. อาหารเพื่ออนาคต ส่งเสริมให้เกิดการใช้นวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มมูลค่าสนับสนุนการเป็นครัวของโลก สนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ในการผลิต Functional ingredient จากทรัพยากรชีวภาพของประเทศสร้างการเติบโต GDP ของประเทศจากอุตสาหกรรมใหม่

2. ระบบ ขนส่งสมัยใหม่ มีเป้าหมายในการต่อยอดทางด้านเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์เดิมไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ สมัยใหม่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนระบบรางอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับ เพิ่มคุณค่าอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศให้เกิดการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็งรองรับระบบขนส่งสมัยใหม่

3. การสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตเพื่อพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์นวัตกรรมเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้พิการเทคโนโลยีจากการใช้ข้อมูลพันธุกรรมเทคโนโลยีเซลล์และยีนบำบัดเทคโนโลยีดิจิตอลและไอที ในการป้องกันรักษาและฟื้นฟูโรคอย่างมีประสิทธิภาพสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมการผลิต และบริการด้านสุขภาพสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศ

4. เคมีชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพโดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมยกระดับความสามารถในการแข่งขัน

5. นวัตกรรมเพื่อการเกษตรยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพปลอดภัยและมีมูลค่าเพิ่มโดยการพัฒนาการเกษตรภายในประเทศ ให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นด้วยการใช้ทรัพยากรน้อยลง และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดการเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมในการผลิต

 

 

เกษตรสมัยใหม่ 1 ใน 5 นวัตกรรม

นวัตกรรมการเกษตรยั่งยืน ที่ช่วยเกษตรกรผ่านแอพพลิเคชั่น ตั้งแต่การวางแผนการเพาะปลูก เพื่อช่วยเตือนเกษตรกรในช่วงกิจกรรมสำคัญ ผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น การให้น้ำ การให้ปุ๋ย ให้เป็นไปตามแผนการเพาะปลูก

   ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สวทช.) และสถาบัน Forschungszentrum   Jülich  และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

สวทช.พัฒนาความร่วมมืองานวิจัยทางด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพเพื่อความยั่งยืนและงานวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี plant phenotyping และการประยุกต์ใช้กับสถาบัน Forschungszentrum   Jülich  สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยเห็นถึงว่ามันสำปะหลังซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย มีศักยภาพทางด้านการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจฐานชีวภาพ ร่วมกันวางแผนดำเนินงานศึกษาวิจัย เรื่อง “การศึกษาความแตกต่างของลักษณะจีโนไทป์และพีโนไทป์ของการพัฒนารากสะสมอาหารของมันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มศักยภาพของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญต่อเศรษฐกิจฐานชีวภาพ  โดยเป้าหมายเพื่อศึกษาข้อมูลฟีโนไทป์ จีโนไทป์ และสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพัฒนาการของรากสะสมอาหารของมันสำปะหลังเพื่อประโยชน์สำหรับการเพิ่มความสามารถของงานด้านปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลัง แลเพิ่มผลผลิตของประเทศไทยในอนาคต

ระบบตรวจวัดฟีโนไทป์รากมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยตรวจประเมินลักษณะของรากมันสำปะหลัง ซึ่งประกอบไปด้วยสองส่วน คือ 1 VED BOX กล่องสำหรับบันทึกภาพวีดีโอของรากมันสำปะหลังรอบด้านแบบ 360 องศา โดยอาศัยมอเตอร์ช่วยทำการหมุนราก และภาพวีดีโอจะถูกส่งไปเก็บที่ IMAGE SERVER ซึ่งระบบดังกล่าวทำงานแบบอัตโนมัติ 2 ซอฟต์แวร์ประเมินลักษณะปรากฏของราก ที่ทำหน้าที่ประมวลผลภาพดังกล่าวมาวิเคราะห์และประเมินลักษณะรากมันสำปะหลัง ระบบนี้จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดแรงงานและระยะเวลาในการเก็บข้อมูลสามารถทำการวัดที่ซับซ้อนได้ เหมาะสำหรับนักปรับปรุงพันธุ์ และนักวิชาการที่ศึกษาด้านพืช ช่วยย่นระยะเวลาในการศึกษาวิจัยได้เร็วขึ้น

การศึกษาลักษณะทางฟีโนไทป์ของการพัฒนารากสะสมอาหารของมันสำปะหลัง สายพันธุ์ต่าง ๆ ในธนาคารเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลัง ซึ่งศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร มีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังไว้ 2 ชุด ชุดแรก ประมาณ 200 สายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง เก็บรวบรวมไว้ตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2544 ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองได้ทำการทำซ้ำเชื้อพันธุกรรมหลักจากศูนย์เกษตรเขตร้อนนานาชาติ (CIAT)ประเทศโคลัมเบีย มาเก็บไว้อีกประมาณ 600 สายพันธุ์ โดยทำการขยายพันธุ์ในหองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเปลี่ยนอาหารทุก ๆ 3-4 เดือน และขยายพันธุ์ลงในแปลงเพื่อศึกษาลักษณะทางการเกษตรต่าง ๆ เช่น สีใบ สียอด สีลำต้น ทรงต้นจำนวนแผนใบ รูปทรงของหัว เป็นต้น

ทั้งนี้ งบประมาณดำเนินการวิจัยของทีมนักวิจัยสถาบัน Julich ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมัน จำนวน 32 ล้านบาท และการดำเนินงานของทีมนักวิจัยไทยได้รับการสนับสนุนจาก สวทช.ประมาณ 30 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2562