ไปสกลนครทั้งที เที่ยวไหนดี นอกจากเทศกาลแห่ดาวที่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว แต่สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดสกลนคร มีดีที่ต้องไป
“วัดถ้ำผาแด่น”
วัดถ้ำผาแด่น เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งในจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีอายุและความเป็นมา เป็นร้อยปี เบื้องต้นนี้ จะขอเล่าประวัติวัดถ้ำผาแด่นตามที่ปรากฏในทะเบียนวัด ที่ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นวัดถูกต้อง โดยมีชื่อตามที่ปรากฏในทะเบียนสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งขณะนั้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2483 เจ้าคุณสรญาณ รองเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร สังกัดมหานิกาย ในขณะนั้น ได้ไปจดทะเบียนเป็นวัดถูกต้อง เอาไว้ ดังมีรายละเอียดประวัติวัดถ้ำผาแด่น พอสังเขป โดยมีชื่อตามที่ปรากฏในทะเบียนสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งขณะนั้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2483 ดังนี้ “ วัดถ้ำผาแด่น ตั้งอยู่ที่บ้านดงน้อย หมู่ที่ 9 ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 3,000 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือจดเขตภูเขา ทิศใต้จดเขตภูเขา ทิศตะวันออกจดภูเขา ทิศตะวันตกจดเขตภูเขา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญกว้าง 15 เมตร ยาว 15 เมตร สร้าง พ.ศ. 2532 กุฏิสงฆ์เป็นอาคารไม้ 5 หลัง อาคารมุงจาก 10 หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศลสร้างด้วยไม้ 2 ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปพระประธาน 4 องค์ หน้าตักกว้าง 50 นิ้ว สร้าง พ.ศ.2484 โดยพระสี และชาวบ้าน
วัดถ้ำผาแด่น ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2483 โดยมีพระมหาเส็ง นำชาวบ้านสร้างวัดขึ้น การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระมหาเส็ง รูปที่ 2 พระกอง รูปที่ 3 พระสี รูปที่ 4 พระมหาทองสุก รูปที่ 5 พระผาย รูปที่ 6 พระอุดม รูปที่ 7 พระนำชัย มนฺตคุตฺโต พ.ศ.2532 – 2533 รูปที่ 8 พระวิเศษ เตชธโร ตั้งแต่ พ.ศ.2533 เป็นต้นมา” ข้างบนที่กล่าวมานี่เป็นประวัติวัดถ้ำผาแด่น ตามที่มีชื่อปรากฏในทะเบียนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และก็เป็นประวัติวัดถ้ำผาแด่น อีกหน้าหนึ่งซึ่งรับการยืนยัน เรียบเรียง จากคณะโยมพ่อทองใบ อ่อนจงไกร และคุณโยมแสง อ่อนจงไกร ซึ่งเป็นลูก ได้เล่าว่า เมื่ออดีตใน วันหนึ่งของเดือน 6 ปีมะโรง พ.ศ.2483 ได้มีคณะพระอาจารย์สายปฏิบัติกัมมัฏฐาน คณะหนึ่งได้เดินจาริกธุดงค์ มาจากอาวาสวัดป่าสุทธาวาส บ้านดงบาก ในเมืองสกลนคร จำนวน 5 รูป และโยมพ่อขาวอีก 2 คน โดยทราบชื่อว่า พระผู้เป็นผู้นำคณะ องค์ที่ 1 คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต องค์ที่ 2 คือ พระอาจารย์ หลวงพ่อ มหาทองสุก สุจิตฺโต องค์ที่ 3 คือพระอาจารย์ หลวงพ่อ พรหม จิรปุณฺโณ องค์ที่ 4 พระอาจารย์ หลวงพ่อ วัน อุตฺตโม องค์ที่ 5 พระอาจารย์ หลวงพ่อ เส็ง ปุสฺโส โดยพระอาจารย์ทั้ง 5 ได้จาริกธุดงค์ มาปักกลด วิเวก บำเพ็ญสมณะธรรม วิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ สถานที่บ้านดงน้อย บริเวณทางขึ้น เขาภูผาแด่น ในช่วงเวลา 5 โมงเย็น ซึ่งเป็นเวลาที่ชาวบ้านกลับจากหาของป่า ตามที่เคยออกหากินเป็นเช่นนี้ประจำ ของชาวบ้านดงน้อย จึงได้มาพบเห็นพระอาจารย์ทั้ง 5 ในสถานที่ดังกล่าว จึงได้นำเรื่องดังกล่าว ที่ได้พบเห็น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ที่ไม่ได้พบเห็นบ่อย ๆ นัก ที่จะได้พบพระธุดงค์ ดังนั้นชาวบ้านจึงได้นำเรื่องดังกล่าวไปบอกผู้นำหมู่บ้าน ซึ่งในขณะนั้น คือ คุณโยมพ่อ ทองใบ อ่อนจงไกร ให้ได้ทราบความเป็นมาที่ได้พบเห็น ฝ่ายคุณพ่อทองใบ อ่อนจงไกร เมื่อได้รับแจ้งเรื่องดังกล่าวจากลูกบ้าน จึงไม่รอช้า ได้ประกาศเชิญชวนเพื่อนบ้าน ลูกหลานได้รับทราบโดยทั่วกัน เมื่อได้เวลาอันสมควรแล้ว จึงได้พาคณะลูกบ้านเดินทางไปกราบไหว้ และได้เรียนถามถึงความประสงค์และความจำเป็นของพระอาจารย์ทั้ง 5 คุณพ่อทองใบ จึงได้กราบเรียนถึงความประสงค์ของพระอาจารย์ทั้ง 5 ว่า “มีความประสงค์สิ่งใดที่จะให้พวกข้าน้อยทราบด้วย และมีสิ่งประการใดในที่จะให้พวกข้าน้อยช่วยได้บ้าง ขอให้บอกให้ทราบด้วย”
การเดินทางไปวัดถ้ำผาแด่น
จากตัวจังหวัดสกลนครใช้เส้นทางสกลนคร – กาฬสินธุ์ ผ่านสี่แยกบายพาส ถึงไทวัสดุ ให้ชะลอรถ จะมี 3 แยกที่บ้านศรีวิชา มีป้าย บอกไปวัดถ้ำผาแด่น และ ไปอำเภอเต่างอย เลี้ยวซ้ายตรงไปอีก 10 กม.ถึงบ้านดงน้อย มีทางบอกไปถ้ำผาแด่น เลี้ยวขวาเข้าไปตาม ทางเข้าหมู่บ้านไปอีก 3 กม .ทางขึ้นภูเขาสะดวกสบาย
ทั้งนี้ สถานที่จอดรถของทางวัดมีให้บริการไม่เพียงพอ สามารถจอดรถด้านล่าง แล้วต่อสองแถวทางวัดได้เลย ค่าบริการผู้ที่จะขึ้นวัด ด้วยค่าโดยสารคนละ 20 บาท
วัดป่าสุทธาวาส
หลวงปู่เสาร์ กันตสีลเถระ กับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระได้รับการอาราธนาจาก อุบาสิกาสามพี่น้อง ได้แก่ นางนุ่ม, นางนิล ชุวานนท์ และนางลูกอินทร์ วัฒนสุชาติ ผู้มีความเลื่อมใสในพระอาจารย์ทั้งสอง มาจำพรรษา ณ เสนาสนะป่าบ้านบาก ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ต่อมาจึงได้จัดสร้างเป็นวัดป่าสุทธาวาสในเวลาต่อมาภายหลังที่ท่านจากภาคเหนือมาจำพรรษาที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จ.อุดรธานีแล้ว คณะศรัทธาชาวสกลนครได้กราบอาราธนาท่านมาจำพรรษา ณ วัดป่าสุทธาวาสอีกครั้งใน พ.ศ. ๒๔๘๔ แล้วท่านจึงไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก จวบจนวาระที่ท่านใกล้มรณภาพจึงได้มาทิ้งขันธ์ ณ วัดป่าสุทธาวาสใน พ.ศ. ๒๔๙๒ วาระนิพพาน ณ วัดป่าสุทธาวาส หลังจากที่ท่านพักอาพาธที่วัดป่าบ้านกลางโนนภู่ ๑๑ วันแล้ว คณะศิษย์นุศิษย์ได้อาราธนาองค์หลวงปู่มั่นนอนในเปลพยาบาลแล้วนำท่านขึ้นรถเพื่อมาพัก ณ วัดป่าสุทธาวาส ออกเดินทางแต่เช้าถึงวัดป่า สุทธาวาสประมาณเกือบ ๑๒ นาฬิกา จากบันทึกของหลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ ผู้อุปฐาก องค์หลวงปู่มั่นในช่วงอาพาธได้บันทึกเหตุการณ์ในช่วงที่องค์ท่านมรณภาพไว้ในหนังสือ " บันทึกวันวาน " ไว้ว่า
" จากพรรณานิคม ถึงวัดป่าสุทธาวาส สกลนคร เกือบ ๑๒ นาฬิกา เพราะทางหินลูกรังกลัวจะกระเทือนมาก ท่านฯ ก็หลับมาตลอด นำท่านฯ ขึ้นกุฏิ ศิษย์ผู้ใกล้ชิดก็มี ผู้เล่า ท่านวัน ท่านหล้า ผู้จัดที่นอนให้ท่านฯ ได้ผินศีรษะไปทางทิศใต้ ปกติเวลานอนท่านฯ จะผินศีรษะไปทางทิศตะวันออก ด้วยความพะว้าพะวัง จึงพากันลืมคิดที่จะเปลี่ยนทิศทางศรีษะของท่านฯ"
พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตเถระ
สถานที่ในการละสังขารของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ภายในอาคารจึงมีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น และการจำลองรูปเหมือนโดยสร้างเป็นหุ่นขี้ผึ้งในท่าขัดสมาธิขึ้น รวมทั้งมีการใช้สถานที่แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงเครื่องอัฐบริขาร อาคารนี้ก่อสร้างเป็นสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย
เจดีย์จันทสารเจติยานุสรณ์
เจดีย์สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ ธาตุของหลวงปู่หลุยจันทสาโร พ. ศ. 2444 ถึง 2532 ผู้ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระจิตของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระหลวงปู่หลุยเป็นผู้ที่มีปฏิปทาชอบจาริกไปในที่ต่างๆตลอดจนถึงวาระสุดท้าย แห่งชีวิตของท่านเมื่อท่านมรณภาพแล้วได้รับพระราชทานเพลิงศพแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสว่าควรสร้างเจดีย์ที่วัดป่าสุทธาวาสอําเภอเมืองสกลนคร
การเดินทาง
วัดป่าสุทธาวาส ตั้งอยู่ที่ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากกรุงเทพประมาณ 645 กม.ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพประมาณ 7 ชั่วโมง 56 นาที อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 0.9 กม.ใช้เวลาเดินทางตัวจังหวัดประมาณ 3 นาที อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 0.8 กม.ใช้เวลาเดินทางตัวอำเภอประมาณ 3 นาที
พระธาตุนารายณ์แจงเวง
เป็นพระธาตุเก่าแก่สมัยเดียวกันกับพระธาตุเชิงชุมแต่ศิลปะการก่อสร้างผิดไปคนละแบบ พระธาตุองค์นี้สร้างด้วยศิลาแลงแบบเดียวกับปราสาทหินพิมาย แต่มีขนาดเล็กกว่า แบบขององค์พระธาตุแบ่งเป็นหลายส่วน คือ ส่วนที่เป็นฐาน ส่วนที่เป็นองค์หลังคา และส่วนยอด ส่วนที่เป็นฐานก่อด้วยศิลาแลง ก้อนขนาดใหญ่ มีเอวคอดกิ่วเหมือนพานดอกไม้สูง 18 เมตร กว้างด้านละ 15 เมตร องค์เจดีย์เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนที่เป็นหลังคาและยอดปัจจุบันหักพังหมดแล้ว ยังคงเหลือแต่องค์พระธาตุ ซึ่งมีประตูและซุ้มประตูด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกยังพอเห็นความวิจิตรงดงามอยู่พอสมควร ด้านทิศตะวันออกต่อจากประตูออกมาก่อเป็นคูหาเพื่อออกมาข้างนอก 3 เมตร บันได 7 ขั้น ก่อนถึงองค์พระธาตุวงกบประตูสลักอย่างดี มีร่องรอยแบบประตูโบราณทำด้วยศิลาแท่งใหญ่ บนซุ้มประตูสลักลวดลายงดงาม ด้านทิศเหนือเป็นประตูเช่นเดียวกับด้านอื่นๆแต่ซากที่เหลืออยู่เด่นกว่าประตูด้านอื่น
อุทยานบัว
ปัจจุบันอุทยานบัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
1.ส่วนรวบรวมพันธุ์บัว เป็นการรวบรวมพันธุ์บัวทั้งในและต่างประเทศทั้งหมด 34 สายพันธุ์ เช่น บัวกระด้ง บัวสาย บัวผัน-เผื่อน และบัวฝรั่ง รวบรวมไว้ในรูปแบบสระบัวบนพื้นที่ 10 ไร่ โดยมีทางเดินเชื่อมต่อกันที่สามารถเดินลงไปชมบัวได้อย่างใกล้ชิด
2.ส่วนแสดงพันธุ์บัว โดยนำบัวพันธุ์จำนวน 74 สายพันธุ์มาจัดโชว์บนกระถาง เพื่อให้ผู้สนใจได้ใกล้ชิดกับบัว มากขึ้น
3.ส่วนนิทรรศการ ได้จัดแสดงไว้ในชั้นล่างของอาคารวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นนิทรรศการความรู้ และความเป็นมาของบัว พันธุ์ต่าง ๆ เหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าได้เป็นอย่าง
ภายในห้องนิทรรศการประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับบัวต่างๆ ดังนี้
1.การจำแนกพันธุ์บัว 2.ประวัติบัวในไทย 3.การปลูกบัว 4.การดูแลรักษา 5.โรคและศัตรูที่สำคัญ 6.การปรับปรุงพันธุ์ 7.การทำนาบัว 8.ประโยชน์จากบัว
อุทยานหนองหานเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกรียติ จังหวัดสกลนคร ตั้งอยู่ 59 หมู่ 1 ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000 โทรศัพท์ : 0-4272-5000 โทรสาร : 0-4272-5013 วันเวลาเปิดทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8.30 – 18.00 น.
การเดินทาง
อุทยานอยู่ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ 20 กิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 22สกลนคร-นครพนม เลยทางแยกเข้ามหาวิทยาลัยประมาณ 2 กม. ไปทางท่าแร่หรือนครพนม
พญาเต่างอย
เต่างอย เป็นอำเภอขนาดเล็ก อยู่ทางทิศใต้ของ จ.สกลนคร จากอำเภอเมืองเดินทางไปตามทางหลวงสายสกลนคร-นาแก 14 ก.ม. เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 12 ก.ม. ก็จะถึงอำเภอเต่างอยและเดินทางต่อไปอีก 6 ก.ม. ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติห้วยหวด บนเทือกเขาภูพาน มีพื้นที่ประมาณ 825 ตร.ก.ม. หรือ 517,850 ไร่ เป็นอุทยานฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประวัติความเป็นมาของอำเภอนี้ตำนานเล่าว่าเมื่อประมาณ 400 ปี ไทยได้ทำสงครามกับลาว ลาวพ่ายแพ้ จึงถูกกวาดต้อนมาอยู่ในประเทศไทย เมื่อมาถึงบริเวณลำน้ำพุง ลำน้ำขนาดใหญ่และมีเต่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บริเวณฝั่งแม่น้ำพุง
ผู้คนสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่า มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมจึงได้ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านเต่างอย" ตามสถานที่พบเห็นเต่าที่กำลังลอยริมฝั่งแม่น้ำ เชื่อว่าจะมีความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น สัญลักษณ์ของอำเภอนี้จึงเป็นเต่า
"เต่า" หมายถึง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ คำว่า "งอย" หมายถึงการยืนหรือนั่ง อยู่ในที่สูงกว่าระดับพื้นปกติ คำว่า "เต่างอย" จึงหมายถึง เต่าที่กำลังอยู่บนที่สูงเป็นริมตลิ่งหรือบนโขดหิน
จากความสวยงาม ของรูปปั้นพญาเต่าหอย ยังมีเรื่องเล่าที่เข้าฝันทำให้คนถูกหวย ทำให้ที่นี่เป็นที่ให้ความสนใจมากราบไหว้ขอหวย ขอพร ขอความเป็นสิริมงคล และพร้อมกับท่องเที่ยวชมธรรมชาติ ซึ่งนอกจากรูปปั้นแล้ว ยังมีสถานเชื่อมข้ามน้ำ เป็นที่ถ่ายรูปของนักท่องเที่ยว และยังมีของฝากของคนท้องถิ่น รวมทั้งสิ่งของที่ทำเป็นรูปปั้นพญาเต่างอย