พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน)ซื้อกิจการ บริษัท อลิอันซ์ เมดิคอล เอเชีย จำกัด ดันนายแพทย์สุนทร ศรีทา CEO กลุ่มธุรกิจ Healthcare พร้อมทีมบุคลากรชั้นนำ เข้าบริหารโรงพยาบาล 4 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯและภาคกลางตอนบน เพิ่มชองทางให้คนท้องถิ่นใช้บริการตามแนวทางใหม่ของ นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วิทยากร ผู้บุกเบิกตลาดโรงพยาบาลเอกชน
นายแพทย์สุนทร ศรีทา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Healthcare เปิดเผยว่า จากผลการวิจัยของศูนย์วิจัยกรุงศรีและศูนย์วิจัยธนาคารออมสินถึงแนวโน้มธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปี 2561 พบว่า ภาพรวมธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทยในช่วงปีที่ผ่านมาเติบโตค่อนข้างดี โดยอัตราการขยายตัวของรายได้สูงกว่าอัตราการขยายตัวของ GDP และขยายตัวตัวอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของตลาดผู้ป่วยในประเทศและผู้ป่วยต่างชาติ ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลักสนับสนุนคือ การเพิ่มขึ้นของกลุ่มชนชั้นกลางที่มีอำนาจการซื้อสูง อัตราการใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลผ่านรงพยาบาลเอกชนของคนไทยต่อ GDP ที่อยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบประเทศอื่น ๆ จะเป็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน
นอกจากนี้ประชากรสูงอายุที่ต้องการการดูแลและรักษาพยาบาลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในระยะยาวสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) จะเป็นปัจจัยหนุนความต้องการใช้บริการทางการแพทย์ที่ทันสมัยและเทคโนโลยีชั้นสูงมากขึ้น จากสัดส่วนผู้สูงอายุ วัย 65 ปีขึ้นไป ที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มประชากรอายุมากกว่า 65 ปี ที่จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จะมีความต้องการด้านบริการด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นกุล่มที่มีอัตราของการเจ็บป่วยสูงและเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ จึงต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งนี้จากการคาดการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า จำนวนผู้สูงวัยอายุมากกว่า 60 ปี จะเพิ่มมากขึ้นจาก 3.1 ล้านคนในปัจจุบันเป็น 10.3 ล้านคน ในปี 2562
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Healthcare กล่าวเพิ่มว่า อีกหนึ่งปัจจัยคือ การขยายตัวของชุมชนเมือง ซึ่งจากข้อมูลของสหประชาชาติ (UN) คาดการณ์ว่า ระบบความเป็นเมืองของไทยจะขยายตัวจาก 35.6 % ในปี 2558 เป็น 40.7 % ในปี 2568 สะท้อนว่าความเป็นเมืองที่เจริญและกระจายตัวกว้างขึ้น จะเป็นโอกาสในการขยายการให้บริการทางการแพทย์มากขึ้นในพื้นที่ต่างจังหวัด เมื่อเทียบกับความต้องการใช้บริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ค่อนข้างอิ่มตัว
ทางด้านอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงของคนไทยมีมากขึ้น จำนวนผู้ป่วยและการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคปอดบวม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในไทยและประเทศอาเซียนอื่น ๆ โดยการบริโภคน้ำตาลที่สูงสุดในอาเซียน ทำให้คาดว่าความต้องการใช้บริการทางการแพทย์จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพของการรักษาพยาบาล และจุดแข็งด้านราคาค่าบริการทางการแพทย์ของไทยที่ยังดึงดูดผู้ป่วยต่างชาติ ซึ่งไทยได้รับการยอมรับว่า เป็นหนึ่งในประเทศศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลก โดยคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและหนุนให้ตลาดโรงพยาบาลเอกชนในประเทศเติบโตขึ้น และปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub ของเอเชีย โดยกำหนดและดำเนินการตามแผนพัฒนาประเทศไทยในเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ พ.ศ.2559-2568 การเปิดเสรีทางการค้าหรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมถึงการส่งเสริมให้คนไข้ชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวพักผ่อนเชิงสุขภาพในประเทศไทย
นายแพทย์สุนทร ศรีทา กล่าวว่า การที่บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) ได้เข้าถือหุ้นใหญ่ในบริษัท อลิอันซ์ เมดิคอล เอเชีย จำกัด (Alliance Medical Asia Co., Ltd. – AMA) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นโรงพยาบาลเอกชนชื่อดังใน 3 จังหวัดบริเวณภาคกลางตอนบน ได้แก่ โรงพยาบาลพิษณุเวช มีจุดเด่นทางด้านการเป็นศูนย์รังสีที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงและให้บริการรักษาอย่างครบถ้วน,โรงพยาบาลปากน้ำโพ 1,โรงพยาบาลปากน้ำโพ 2 มีจุดเด่นคือ การเป็นต้นแบบของโรงพยาบาลที่ใช้ระบบไอทีหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ ระบบ Smart System และได้รับการรับรองมาตรฐาน HIMSS Analytics EMRAM Stage 6 เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐานระดับสูงในการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับบริการดูแลผู้ป่วย เทียบชั้นกลุ่มโรงพยาบาลชั้นนำของโลก และ โรงพยาบาลสหเวชพิจิตร ที่ให้บริการดีเยี่ยมจนมี Market Share สูงถึง 55 % นอกจากนี้บริษัทยังรับจ้างบริหารโรงพยาบาลอีก 1 แห่งในกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ การที่ PRINC ได้เข้ามาพัฒนาศักยภาพทั้งทางด้านการเงิน และการรักษาพยาบาลของแต่ละโรงพยาบาล รวมทั้งยังได้วางแผนในการทำ Shared Services สำหรับโรงพยาบาล เพื่อบริหารงานจัดซื้อ งานบริหารคลัง งานระบบบัญชี และระบบบริหารทรัพยากรบุคคลในรูปแบบใหม่ พร้อมนำ Cloud Technology มาใช้เพื่อช่วยการบริหารจัดการรูปแบบของโรงพยาบาลที่เป็นเครือข่าย (Network Hospital Management) ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และรองรับการเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลในเครือในอนาคต รวมถึงการชูจุดแข็งคือ การมีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล การให้บริการที่รวดเร็วและดีเยี่ยม และมีราคาที่สมเหตุสมผล
“โดยเป้าหมายหลักตามที่ นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วิทยากร ประธานคณะกรรมการบริษัท ได้ให้วิสัยทัศน์ไว้คือโรงพยาบาลในเครือจะต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนที่ดียิ่งขึ้นและได้รับประโยชน์จากการเป็นเครือโรงพยาบาลที่สามารถแบ่งปันทรัพยากรกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้เทคโนโลยีในการยกระดับการให้บริการผู้ป่วย และเน้นการอยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างช่วยเหลือกัน เสริมสร้าง และเติบโตไปด้วยกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งบริษัทฯ และผู้ใช้บริการ สำหรับเป้าหมายในอนาคตถ้าหากมีการชัดเจนในทุกด้านมากขึ้น เรามีการขยับขยายธุรกิจอย่างแน่นอน”
สำหรับคณะผู้บริหารมืออาชีพท่านอื่นประกอบด้วย นายแพทย์อาทิตย์ เปี่ยมคล้า, นายแพทย์วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์,นายแพทย์อธิวัฒน์ น้อยประสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช, ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ก่อพงศ์ รุกขพันธ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปากน้ำโพ และ นายแพทย์ชัยสิทธิ์ ศรีทองชัย
ทั้งนี้ บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังริมทรัพย์ภายใต้วิสัยทัศน์องค์กร “เราเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยในระดับแนวหน้า โดยการพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพและสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า โดยมุ่งพัฒนาโครงการในทำเลที่อยู่ย่านศูนย์การธุรกิจ และเป็นผู้ให้บริการบริหารจัดการอาคารสำนักงานงานแบบครบวงจร โดยทีมงานมืออาชีพ อย่างโปร่งใส ยุติธรรม”
การดำเนินงานภายใต้พันธกิจคือ มีการลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ ที่มีความหลากหลายและมีศักยภาพ เช่น ธุรกิจให้บริการติดตั้งระบบสารสนเทศ ธุรกิจการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน เพื่อกระจายความเสี่ยงในการพึ่งพารายได้จากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว และอีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการเติบโตของรายได้และกำไร ตลอดจน สร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น
“บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) ได้ยึดตามแนวทางปฏิบัติใน 7 หัวข้อหลักตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้กำหนดขึ้น และ ISO 26000 มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมคือ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อพนักงาน ความรับผิดชอบต่อผู้ยบริโภค สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย การทมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม และการให้ความสำคัญกับการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม”