“ค่าย Media for Health”ผุดโครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนสู่การเป็นนักสื่อสารเพื่อสุขภาวะ



 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำ “โครงการการพัฒนาศักยภาพเยาวชนสู่การเป็นนักสื่อสารเพื่อสุขภาวะ Media for Health ครั้งที่ 1” เพื่อสร้างเยาวชนคนสื่อสารที่มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูลที่ควรส่งเสริมผ่านสื่อโทรทัศน์ ผ่านตัวอักษร ผ่านการเขียนบทเพื่อแสดง ซึ่งการอบรมพัฒนาศักยภาพเยาวชนนี้จะสร้างให้เยาวชนสามารถนำข้อมูลต่างๆ ไปเผยแพร่ได้อย่างถูกต้องแม่นยำในทิศทางที่ประเทศต้องการ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป อายุ 17-25 ปี ที่สนใจ เรียนรู้ ฝึกฝน การเขียนบทละคร การเขียนเรื่องสั้น และการทำหนังสารคดีสั้น ได้มีโอกาสจุดประกายในการเรียนรู้และปูพื้นฐานในการเป็นนักสื่อสารเพื่อสุขภาวะที่ดี นักสื่อสารเพื่อสุขภาวะ เมื่อเข้าไปเป็นผู้สื่อสารเรื่องงานสุขภาวะทั้งละคร การเขียนหนังสือ หรือการทำหนังสั้น และหนังสารคดี จะต้องสามารถสื่อสารเรื่องเหล้า บุหรี่ ยาเสพติดและโรคไม่ติดต่อได้อย่างรอบด้าน โดยได้ทำการแถลงข่าวปิดค่าย “โครงการการพัฒนาศักยภาพเยาวชนสู่การเป็นนักสื่อสารเพื่อสุขภาวะ Media for Health ครั้งที่ 1” โดยมี “ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล”  รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นประธานดำเนินงาน, “คุณกาญจนา พุ่มพวย” ผู้จัดการโครงการฯ อาจารย์ผู้ฝึกสอน ค่ายหนังสารคดีสั้น “คุณสุวิมล  รัชชุพันธ์”,“คุณโยธิน  สกุลเกสรีวรรณ” ผู้ผลิตสารคดีของเสถียรธรรมสถาน, ค่ายเขียนเรื่องสั้น “คุณเรวัตร์  พันธุ์พิพัฒน์” กวีซีไรต์ประจำปี 2547, ค่ายเขียนบทละครเวที “ผศ.ดร.ชุติมา  มณีวัฒนา” คณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนาภัฏสวนสุนันทา และเยาวชนที่เข้าร่วมรับการอบรมกว่า 40 คน ได้นำเสนอผลงานจากทั้ง 3 ค่ายในรูปแบบนิทรรศการ พร้อมทั้งรับมอบประกาศนียบัตรจากโครงการเป็นที่ระลึก โดยมี “ดีเจเภา กันย์นรี ชลัย” จากคลื่นหมีน่ารักฮักเรดิโอ รับหน้าที่พิธีกรดำเนินงาน ณ ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ TCDC

 ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล  กล่าวว่า การให้โอกาสเด็กพัฒนาตนของเด็กและเยาวชน ซึ่งจากปัญหาปัจจัยเสี่ยงทางสังคม บุรี สุรา ยาเสพติด โดยเราต้องการแปรความรู้ผ่าน  เด็ก ๆ เยาวชนที่เขาสามารถแปลงเพื่อให้เข้าใจง่าย เพื่อถ่ายทอดให้สังคมวัยเดียวกัน รับรู้ถึงปัญหา แนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้น โดยในปีแรกค่ายละ30 คน มาอยากหลายสาขา สะท้อนว่าเด็กทุกสาขามีความสนใจ โดยการอบรมมีทั้งคอสระยะสั้น โดยคัดเลือกเหลือค่ายละ15 คน ใน 3 ค่าย รวมแล้ว 45 คน

หลังจากที่เราได้ทำกิจกรรมในครั้งแรกพบว่าประสบความสำเร็จ และในปี2561 ทางสสส.ก็จะดำเนินโครงการนี้ต่อไป โดย มี 3 คือ 1.หลักสูตรพื้นฐาน ซึ่งจุดอ่อนในปีที่ผ่านมาจะนำมาพัฒนาได้เพื่อให้หลักสูตรพื้นฐานสมบูรณ์ที่สุด 2.หลักสูตรต่อไปการประกวดเพื่อชิงรางวัล ซึ่งจะเป็นความภาคภูมิใจของน้องๆ และ 3. รวมตัวของผู้มีฝีมือเพื่อทำหนังสั้นในการพัฒนาประเทศ