ททท.สำนักงานนครสวรรค์ จัดงานแถลงข่าว ตามรอยเสด็จ...๑๑๑ ปี พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น มณฑลนครสวรรค์ ประจำปี ๒๕๖๐ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ นายอภิสรรค์ สง่าศรี, ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานครสวรรค์ นายวิสูตร บัวชุม และนายกเทศมนตรีตำบลท่าน้ำอ้อยม่วงหัก นางไพลิน โตอิ้ม ร่วมกันงานแถลงข่าวและเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาร่วมงานที่จะจัดขึ้น
ตามรอยเสด็จ...๑๑๑ ปี พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น มณฑลนครสวรรค์ ประจำปี ๒๕๖๐ โดยนครสวรรค์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดจัดทุกๆ เดือนสิงหาคมของทุกปี ณ แต่ละอำเภอที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) เคยเสด็จประพาสต้น เหตุที่เรียกว่า “ประพาสต้น” นั้น เนื่องจากเมื่อเวลาจะประพาสแล้วไม่อยากให้ใครรู้ว่าจะเสด็จไป เพื่อใกล้ชิดกับประชาราษฎร์มากขึ้น ในการเสด็จฯ จะทรงเรือมาดเก๋ง ๔ แจว ๑ ลำ แต่เรือลำเดียวไม่พอบรรทุกเครื่องครัว จึงทรงซื้อเรือมาดประทุน ๔ แจว ที่แม่น้ำอ้อมแขวง จ.ราชบุรี ๑ ลำ โปรดให้เจ้าหมื่นเสมอใจราช เป็นผู้คุมเครื่องครัวไปในเรือนั้น เจ้าหมื่นเสมอใจราชมีชื่อเรียกว่า “อ้น” จึงทรงดำรัสเรียกเรือลำนั้นว่า “เรือตาอ้น” เรียกเร็วๆ จึงกลายเสียงเป็น “เรือต้น” ในปีนี้ งานตามรอยเสด็จ...๑๑๑ ปี พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น มณฑลนครสวรรค์ ประจำปี ๒๕๖๐ จัดด้วยกันทั้งหมด ๗ พื้นที่ ได้แก่
๑.วัดพระปรางค์เหลือง ต.ท่าน้ำอ้อย ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
๒.วัดเกาะหงส์ ต.ตะเคียนเลื่อน ระหว่างวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
๓.วัดเก้าเลี้ยว อ.เก้าเลี้ยว ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐
๔.วัดหัวดงใต้ อ.เก้าเลี้ยว ระหว่างวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐
๕.หน้าเทศบาลตำบลบ้านแดน อ.บรรพตพิสัย ระหว่างวันที่ ๑๘-๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๐
๖.วัดเขาดินใต้ อ.เก้าเลี้ยว ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐
๗.วัดเขื่อนแดง (วัดศรีสุวรรณ) ต.นครสวรรค์ ระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๐
จังหวัดนครสวรรค์นับว่ามีความสำคัญที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยเสด็จมณฑลนครสวรรค์ ๕ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๔๐๙ (รศ.๘๕) ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๔๔ (รศ.๑๒๐) ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๔๔๘ (รศ.๑๒๔) ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๔๔๙ (รศ.๑๒๕) และครั้งที่ ๕ พ.ศ.๒๔๕๗ (รศ.๑๒๗)
งไฮไลท์ในการจัดกิจกรรมของแต่ละแห่งจะแตกต่างกันไป อาทิ การจัดขบวนเรือเสด็จประพาสต้นจำลอง, การแต่งการย้อนยุคภายในงาน, นิทรรศการเสด็จประพาสต้น, การแสดงดนตรีออเคสตร้า ๔๐ ชิ้น ขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ เป็นต้นฯ เพื่อให้เกิดการรับรู้และเป็นการประชาสัมพันธ์ดัง