นางสาวสุทธิณี ภัทรศุภฤกษ์ นิสิตปริญญาโท คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้จัดทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลของการฝึกชี่กงกวงอิมจื้อไจ้กงขั้นที่ 1 ในผู้ที่ทำงานสำนักงานที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง” เปิดเผยว่า เหตุผลที่ทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ เพราะเห็นผลการวิจัยของรุ่นพี่กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเคยทำวิจัยเกี่ยวกับชี่กงของคณะมวยจีนที่สวนลุมพินีพบว่า ผลการวิจัยออกมาค่อนข้างดีเพราะสามารถลดอาการเจ็บปวดได้ในผู้ที่ฝึกมวยจีนที่สวนลุมพินี จึงเป็นที่มานำผลงานวิจัยของรุ่นพี่ที่เคยทำไว้มาปัดฝุ่นแล้วทำวิทยานิพนธ์เรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งถือว่าเป็นการต่อยอด โดยเก็บข้อมูลการสำรวจจากการสอบถามพนักงานจำนวน 76 คน ในสำนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับข้อมูลระดับอาการปวดหลัง มุมมองการเคลื่อนไหวของหลัง และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อพยุงแกนกลางลำตัวของกระดูกสันหลัง และดูระดับความเครียด หลังการฝึกชี่กง โดยจะรายงานผลการสำรวจต่อไป อย่างไรก็ตามผลการวิจัยวิทยานิพนธ์ชุดนี้คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในอีก
3-4 เดือนข้างหน้า เพราะจะต้องมีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานด้วย
การทำวิทยานิพนธ์ชุดนี้ยังได้รับคำแนะแนวจาก รศ.ดร.นิธิมา เพียวพงศ์ ปริญญาเอกด้านฝั่งเข็มจากประเทศอังกฤษ และเป็นอาจารย์ด้านกายภาพบำบัดโดยตรงเกี่ยวกับความน่าสนใจของวิชาจึงเป็นที่มาของการเลือกเรียนวิชากดจุด กัวซา และชี่กงในระดับปริญญาตรีเพื่อ 4-5 ปีก่อน และเมื่อเรียนไปได้ระยะหนึ่งผลของการบำบัดออกมาดี เพราะสามารถนำวิชากดจุด กัวซา ชี่กงไปใช้ในวิชากายภาพบำบัดได้ โดยคาดหวังว่าผลงานชุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหากมีการเผยแพร่ เนื่องจากวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวิธีการช่วยลดอาการปวดหลังจากการฝึกชี่กงได้อย่างสมบูรณ์ ประกอบกับส่วนตัวได้มาเรียนวิชาชี่กงเพิ่มเติมที่ศูนย์ชี่กงอาจารย์หยาง ทั้งการฝึกชี่กงขั้นที่ 1 การฝึกท่ายืนอรหันต์ ซึ่งผลของการฝึกทำให้มีสมาธิ และมีจิตใจสงบมองว่า นำไปดูแลสุขภาพได้จริง และเป็นความโชคดีที่ได้มาพบศาสตร์นี้ ซึ่งพิสูจน์ได้เพราะเป็นวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้โดยส่วนตัวปกติเป็นคนชอบเข้าวัด ปฏิบัติธรรม มองเห็นว่าโลกหมุนเวียนไปอย่างรวดเร็วมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนตลอดเวลาซึ่งเมื่อมาฝึกการนั่งสมาธิแบบชี่กงทำให้จิตใจสงบมากขึ้น